การใช้ Indicator ต่าง ๆ Ichimoku Kinko Hyo
บทความนี้ เป็นบทความการใช้งาน Indicator ที่มีอยู่ใน MT4 ซึ่งมาถึงการใช้ Indicator Ichimoku Kinko Hyo Indicator ตัวนี้คิดค้น คนญี่ปุ่น ซึ่งคนพัฒนาเป็นนักเขียนในสำนักพิมพ์ของสนักข่าวญี่ปุ่น ได้รวมเอา Indicator ที่ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคหลาย ๆ ตัวรวมกัน ซึ่งคำว่า Ichimoku ในภาษาญี่ปุ่น แปลว่า one look หรือ สามารถมองได้เพียงครั้งเดียว ก็สามารถตัดสินใจได้แล้ว Ichimoku นั้นจะใช้ในการประมาณการแนวรับแนวต้าน
ถึงแม้ว่ารูปร่างหน้าตาของ Ichimoku นั้นจะดูซับซ้อนสำหรับเทรดเดอร์มือใหม่ แต่ว่ามันจะไม่ได้ซับซ้อนถ้าเราทำความเข้าใจกับมันและดูว่ามันทำงานยังไง
รูปที่ 1 Indicator Ichimoku Kinko Hyo
จากรูปข้างต้นจะเห็นว่า Ichimoku มีองค์ประกอบ 4 ตัว แต่มี 5 เส้น เพราะว่า เส้นที่มีกลุ่มเชดสีนั้นเป็น 2 เส้น ดังนั้น ichimoku จึงมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
Tenkan –sen หรือ เส้นกลับตัว คำนวณ การใส่จุดสูงสุและจุดต่ำสุดของช่วงเวลา9 ช่วงที่ผ่านมา และหารด้วย 2 ผลได้ก็จะแสดงแนวรับและแนวต้านของมัน หรือก็คือมันจะบอกจุดกลับตัว
Kijun-Sen หรือเส้น Base line นั้นจะใช้ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุดของ 26 แท่งเทียนก่อนหน้า หารด้วย 2 ผลคือได้แนวรับแนวต้านเพื่อใช้ยืนยันการเปลี่ยนเทรนด์จากเทรนด์ก่อนหน้า เพราะมันเป็นการยืนยันในเวลาที่ช้ากว่า เครื่องมือนี้จะใช้สำหรับการตั้ง Stoploss หรือเอาไว้ตั้ง Trailing Stop ก็ได้
Senkou Span A หรือ เส้นนำราคา span A จะคำนวณด้วยการใช้ tankan-sen และ kijun-sen หารด้วย 2 และพล็อต ไว้ 26 แท่งก่อนหน้า ทำให้เกิดรูปเมฆ หรือ kumo ซึ่งใช้วิเคราะห์พื้นที่แนวรับแนวต้าน นั่นเอง
Senkou SpanB หรือเส้นนำราคา Span B คำนวณ ใช้ราคาต่ำสุด สูงสุดของ 52 แท่งก่อนหน้าหารด้วย 2 แล้วพล็อตไปข้างหน้า 26 แท่งเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดพื้นที่แนวรับแนวต้าน
และ สุดท้าย คือ Chikou Span คือ lagging span แปลว่า ช่วงล่าช้า คือ ราคาปิดช่วงปัจจุบันแต่พล็อตให้ช้ากว่าปัจจุบัน 26 แท่ง ซึ่งใช้แสดงแนวรับแนวต้านนั่นเอง
การใช้งานทั่วไป
การใช้งานทั่วไปสำหรับ Ichimoku Kinko Hyo คือใช้เป็นแนวรับแนวต้านของราคา ซึ่งจากคำอธิบายอของชื่อเรียกก่อนหน้าจะเห็นได้ชัดเจนว่า เส้นแต่ละเส้นนั้น จะใช้เป็นแนวรับแนวต้านเป็นหลัก นั่นคือ มีกลุ่ม Span หรือกลุ่มเมฆ ที่ใช้สำหรับการระบุแนวรับแนวต้าน นั่นคือ Ichimoku จะใช้เป็นกรอบราคาสำหรับการตั้ง Stoploss ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ในความคิดเห็นของผู้เขียน อดีตไม่สะท้อนการเคลื่อนไหวของราคาในอนาคต การใช้กรอบราคาเดิมเพื่อเป็นการระบุแนวรับแนวต้านนั้นเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งเพื่อหาจุด Stoploss เท่านั้น แต่ไม่ได้บอกว่าราคาที่เข้าเทรดจะดีจริงหรือไม่ สิ่งที่ผู้เขียนสังเหตุเห็นได้จาก Ichimoku และมีความน่าสนใจอยู่คือ ลักษณะของการบอกช่วงกราฟที่ผันผวน จึงขอนำเสนอวิธีการใช้งานดังต่อไปนี้
การใช้งานเพิ่มเติม
รูปที่ 2 จุดสังเกตุของ Cloud
นั่นคือ รูป Cloud ของ Span A และ B รวมกัน ซึ่งต้องขออธิบายก่อนว่า จากคำอธิบายเพิ่มเติม เส้นสีเขียว เล็ก ๆ ที่พล็อตย้อนหลังมันคือเส้น MA การพล็อต MA ย้อนหลังจึงไม่ได้ช่วยบอกอะไรเท่าไหร่เพราะมันสะท้อนปัจจุบันอยู่ดี ส่วน เส้นสีฟ้าและสีแดงเป็นเส้นปัจจุบัน แต่ MA ต่างจำนวนแท่งในภาพมันคือ 9 และ 26 ส่วน Span A และ B คือ 26 และ 52 พล็อตไปข้างหน้า เพื่อบอกช่วงแนวรับแนวต้าน จากวิธีใช้ทั่วไป สิ่งที่เราเห็น คือ การเคลื่อนไหวใหญ่ ๆ มักจะมาหลังจาก การเกิดการบีบตัวของ Span หรือ เมื่อพื้นที่ของ Span A และ B มีความแคบลง หรือว่ากันง่าย ๆ ก็คือ เส้น MA 26 และ 52 ตัดกัน หรือใกล้เคียงกันมันจะเกิดการเคลื่อนไหวของราคาครั้งใหญ่ตามมา ทำให้เกิดรูปแบบ Moku หรือกลุ่มเมฆขนาดใหญ่เพราะว่า ความเร็วของ MA มันต่างกันอย่างไรหล่ะครับ
หลักการนี้ก็นำไปใช้ในการคำนวณ MACD เช่นเดียวกัน ทำให้เกิดความกว้างของแท่ง Histogram นั่นเอง การใช้ประโยชน์จากตรงนี้ เป็นการสังเกตุธรรมชาติของราคา เมื่อเราเห็นนกลุ่มเมฆบีบตัวเราย่อมคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาได้ในทันทีว่า ราคาจะมีการเคลื่อนไหวรุนแรงในทิศทางใดทิศทางหนึ่งทันที ภาษาที่ใช้ในการเทรดเรียกว่า การเกิด Congestion หรือการกระจุกตัวของราคา เมื่อราคากระจุกตัวจะมีการสะสมแรงของการดีดตัว เราสามารถใช้คาดเดาทิศทางได้จากการที่เส้นมันจะตัดขึ้นหรือตัดลง แล้วส่งคำสั่งก็ทำได้เช่นกัน
ความได้เปรียบของการใช้การเคลื่อนไหวช่วงที่ราคากำลังเคลื่อนไหวแคบ ๆ ก็คือ การได้ Risk Reward ที่สมเหตุสมผลเพราะราคาเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ นั่นเอง ดังนั้น การใช้ Ichimoku Kinko Hyo จึงควรจสังเกตุธรรมชาติของมันด้วย รวมทั้งการใช้แนวคิดเดิมพิ่มเติมเข้าไป เช่น ใช้สำหรับเป็นแนวรับแนวต้านและตั้ง Stop loss หรือ Take Profit ร่วมด้วย
ทีมงาน www. .com