Moving Average เรื่องพื้นฐานแต่ประโยชน์มหาศาล
บทความนี้เราจะมาพูดถึงอินดิเคเตอร์ตัวหนึ่งซึ่งเป็นอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่หลาย ๆ คนคงเคยนำไปใช้ แต่ท่ามกลางความนิยมอันท่วมท้นของมันนั้น กลับมีอีกหลาย ๆ คนที่แทบจะไม่รู้จักมันเลย
Moving Average หรือที่คนไทยเรียกว่า เส้นค่าเฉลี่ย หรือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จัดว่าเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์พื้นฐานที่นักลงทุนด้านเทคนิค (Technical Analyst) ควรรู้ โดยหลัก ๆ แล้ว Moving Average จะถูกนำไปใช้ในการหา Trend หรือ แนวโน้มของราคา เราสามารถจำแนก Moving Average ออกเป็น 2 ประเภท คือ Simple Moving Average และ Exponential Moving Average โดยในที่นี้ ผู้เขียนจึงจะขอพูดถึงเพียงคร่าว ๆ เกี่ยวกับวิธีคำนวณ และความแตกต่างระหว่าง SMA (Simple Moving Average) กับ EMA (Exponential Moving Average) ดังนี้
ความแตกต่างระหว่าง SMA และ EMA
SMA หรือ Simple Moving Average จะเป็นค่าเฉลี่ยของราคาปิด (Closing Price) n ช่วงเวลาย้อนหลัง โดยกำหนดให้ราคาปิดในแต่ละช่วงเวลานั้นมีน้ำหนักเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น การหา SMA(4) ใน TF Daily นั่นคือการหา SMA ในช่วง 5 วันที่ผ่านมา จะคำนวณดังนี้
ราคาปิดของเมื่อวาน 2.5879
ราคาปิดย้อนกลับไป 2 วัน 2.5817
ราคาปิดย้อนกลับไป 3 วัน 2.5756 SMA = (2.5879+2.5817+2.5756+2.5014+2.5478) / 5
ราคาปิดย้อนกลับไป 4 วัน 2.5014
ราคาปิดย้อนกลับไป 5 วัน 2.5478
ในขณะเดียวกัน EMA หรือ Exponential Moving Average จะเป็นค่าเฉลี่ยของราคาปิด n ช่วงเวลาย้อนหลัง โดยกำหนดให้ ราคาปิดในวันท้ายๆ มีน้ำหนักหรือความน่าเชื่อถือมากกว่า ราคาปิดในวันก่อนหน้านั้น จากตัวอย่างข้างต้น วิธีการคำนวณ EMA จะเป็นดังนี้
ราคาปิดของเมื่อวาน 2.5879
ราคาปิดย้อนกลับไป 2 วัน 2.5817
ราคาปิดย้อนกลับไป 3 วัน 2.5756 EMA= [(2.5879*5)+(2.5817*4)+(2.5756*3)+(2.5014*2)+(2.5478*1)]
ราคาปิดย้อนกลับไป 4 วัน 2.5014 (5+4+3+2+1)
ราคาปิดย้อนกลับไป 5 วัน 2.5478
จากด้านบนเราจะเห็นว่า EMA จะมีความอ่อนไหว หรือ Sensitive กับราคาปัจจุบันมากกว่า SMA นั่นเพราะ EMA ให้น้ำหนักของราคาล่าสุดมากกว่าราคาในอดีต ในขณะที่ SMA จะให้น้ำหนักกับราคาในแต่ละช่วงเท่ากัน
การเลือกใช้ SMA หรือ EMA
ด้วยวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันทำให้ SMA กับ EMA แสดงผลแตกต่างกัน โดย SMA จะมีความอ่อนไหวต่อราคาน้อยกว่า EMA นั่นคือ ถ้าตลาดอยู่ในช่วง Uptrend มาตลอด แต่ราคาในวันล่าสุดกลับถูกตีกลับลงมามาก นั่นคือ ราคาปิดลดลงมากเมื่อเทียบกับวันก่อนๆหน้านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นก็คือ EMA จะเริ่มแสดงผลบอก Downtrend ในขณะที่ SMA ยังคงบอกสัญญาณ Uptrend อยู่
ด้วยความว่องไวของ EMA นี้เอง ทำให้นักลงทุนสามารถใช้สัญญาณนี้ในการเข้าซื้อขายในจุดกลับตัว (Reverse) ได้รวดเร็วมาก แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ก่อให้เกิดการส่งสัญญาณหลอก (False Signal) ได้ง่าย ผิดกับ SMA ที่เป็นค่าเฉลี่ยที่ไม่อ่อนไหวกับราคาล่าสุดนัก จึงมีโอกาสเกิดสัญญาณหลอกได้น้อยกว่า EMA
การใช้ประโยชน์จาก Moving Average ในการหาแนวโน้มของตลาด
รูปภาพที่ 1 แสดงการหาแนวโน้มของตลาดด้วย Moving Average
จากรูปด้านบน เป็นตัวอย่างการหาแนวโน้มของตลาดด้วย EMA(100) นั่นคือ ถ้าความชัน หรือ Slope ของเส้น Moving Average เป็น + หรือ ลากขึ้น จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า แนวโน้มของตลาดในปัจจุบันเป็นช่วงขาขึ้น หรือ Uptrend แต่ถ้าความชันของเส้น Moving Average เป็น – หรือลากลง จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า แนวโน้มของตลาดในปัจจุบันเป็นช่วงขาลง หรือ Downtrend
การใช้ประโยชน์จาก Moving Average ในการหาแนวรับ-แนวต้านของราคา
รูปภาพที่ 2 แสดงการหาแนวรับ-แนวต้านด้วย Moving Average
จากรูปด้านบน เป็นตัวอย่างการหาแนวรับ-แนวต้านด้วย EMA(100) นั่นคือ ในช่วงที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น เส้น Moving Average จะอยู่ใต้ราคา ถ้าราคาลดลงจนทะลุเส้น Moving Average ลงมา สามารถวิเคราะห์ได้ว่าทิศทางของราคาเริ่มเข้าสู่จุดกลับตัวลง ในทางตรงกันข้าม ถ้าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง เส้น Moving Average จะอยู่เหนือราคา ถ้าราคาเพิ่มสูงขึ้นจนทะลุเส้น Moving Average ขึ้นไป สามารถวิเคราะห์ได้ว่าทิศทางของราคากำลังกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น นอกจากนี้ ด้วยความสามารถในการพยากรณ์ตามด้านบนนั้น ทำให้เราสามารถกำหนดจุด Stoploss ไว้ที่เส้น Moving Average ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ทีมงาน www. .com