วิธีการใช้ ZigZag ในการเทรด

                อินดิเคเตอร์อีกตัวหนึ่งที่นิยมใช้กันเป็นตัวช่วยกรองเรื่องของเทรน ที่จะเกิดขึ้นระหว่าง swing points เมื่อมีการเปลี่ยนเปลง เพื่อให้กำหนดเทรนง่ายในแต่ละ timeframe จะเห็นว่าในการใช้ในเรื่องของการกำหนดเทรนล่วงหน้า และใช้เสริมกับหลักการเทรดอย่างต่อเนื่อง เช่นเรื่อง Elliott wave หรือการเทรด price action

                การตั้งค่า ZigZag แล้วแต่กลยุทธ์ที่ต่างกันออกไปในการปรับจูน เช่นจะเห็นเรื่องการประยุกต์เรื่อง ZigZag ไปใช้กับพวก chart patterns เช่นเรื่อง Gartley pattern หรือ Harmonic patterns หรืออย่างเอาไปประยุกต์หาจุดเข้าเมื่อเปิดราคาเบรคสำหรับ Fibonacci Retracements เพราะ ZigZag ช่วยให้มองเห็นภาพรวมของเทรนได้ง่าย เนื่องจากจุด ZigZag จะเกิดเป็นจุด swing points ต่างๆ ส่วนมากเป็นจุดที่เป็นจุด peak  ที่เกิดที่จุด ZigZag เลยทำให้เห็นเทรนได้ง่าย บางเทรดเดอร์ประยุกต์หลักการเข้าหลาย timeframe ในการวิเคราะห์เพื่อเข้าเทรด  สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือ ZigZag เป็นอินดิเคเตอร์แบบ repaint เปลี่ยนไปตามค่า new low หรือ new high ที่เกิดขึ้น

                ในที่นี้จะขอกล่าววิธีการใช้ ZigZag ที่ทำให้ชาร์ตยังไม่รก แค่ใช้อินดิเคเตอร์เป็นตัวไกด์เรื่องเทรนแบบคร่าวๆ เพื่อช่วยในการหาจุดเทรน แล้วใช้ความรู้เรื่องตลาดทำงานอย่างไร ที่อ่านจากชาร์ตเปล่าเป็นหลักเพื่อเข้าเทรดและออกเทรด

                ZigZag กับแนวรับ-แนวต้าน หรือ support-resistance จุด ZigZag ที่เกิดขึ้นจะทำให้ท่านกำหนดหาแนวรับหรือแนวต้านได้ง่าย แนะให้ท่านมองแนวรับหรือแนวต้านเป็นพื้นที่ราคาไม่ใช่แค่ดูจุดราคา ดูพื้นที่ราคารอบๆ จุด ZigZag ที่เป็นจุด Peak ของพื้นที่นั้นๆ ลักษณะการ rejection สำคัญเพราะบอกว่า trading pressure มาจากทางไหน แล้วดูลักษณะที่ราคาวิ่งออกมาเมื่อเกิด trading pressure ตรงส่วนนี้ให้เอาความรู้เรื่องออเดอร์และ postions เข้าไปประกอบด้วย คือเมื่อราคาเปิดจุด ZigZag แสดงว่าเป็นที่พื้นที่ราคาวิ่งไปเจอะ Limit orders มาจากการต้องการเข้าหรือการปิดทำกำไรก็ได้แล้วแต่กรณีไป และเมื่อราคาแตะ limit orders พวกนี่ที่พื้นที่ตรงนี้ได้กลายเป็น positions ในตลาดไปด้วย positions พวกนี้จะเป็นที่สนใจเมื่อเกิดราคาวิ่งสวนหรือเกิดการสูญเสียเกิดขึ้น มักจะทำให้เกิดราคาไปแตะ stop loss ที่ถูกกำหนดเลยทำให้ Market orders เกิดขึ้นทันที อย่างกรณีที่เลข 1 2 และ 3 ที่เปิดโอกาสให้เทรดแนวรับ-แนวต้าน เพราะ ZigZag ช่วยให้หาจุดกลับตัวได้ง่าย

                ZigZag และจุดเบรค อีกอย่างหนึ่งเนื่องจาก ZigZag บอกเรื่องเทรนและจุดที่เกิดขึ้นเป็นจุดที่ราคาไปเจอ limit orders และได้กลายมาเป็น postions จากออเดอร์ที่รอเข้าตลาดกลายเป็น positions ที่อยู่ในตลาด กำไรหรือการสูญเสียที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับราคาตลาดที่เกิดตามมา เมื่อราคาเบรคจุดพวกนี้ จะทำให้เห็นว่าพื้นที่ liquidation หรือจุดที่เทรดเดอร์พวกที่เปิดตรงจุด ZigZag ก่อนที่ราคาจะเบรค หรือเทรดเดอร์ที่เทรดอีกรอบเพราะมองจุด ZigZag เป็นตัวกรองในการกำหนดแนวรับหรือแนวต้านแล้วเข้าเทรดอีกรอบกลายเป็น trapped traders และยังเป็นจุดที่พวก breakout traders เฝ้าตามมองด้วย หลักๆ เทรดเดอร์ 2 กลุ่มนี้จะตั้งคำสั่งด้วยเงื่อนไขตลาด ถ้าเป็นพวกเปิด positions ก็จะใช้ stop loss เพื่อออกจากตลาดและ breakout traders ก็จะใช้ buy/sell stop orders เพื่อเข้าตลาดก็จะอยู่พื้นที่เดียวกัน  (ต้องไม่ลืมเรื่องออเดอร์เมื่อราคาไปแตะ stop loss แล้ว stop loss พวกนี้จะกลายเป็น market order ทันที ดังนั้นเรื่อง stop loss จึงเป็นเป้าที่ขาใหญ่เล็งเพราะถ้าราคาไปแตะแล้ว ตลาดเท่ากับเปิด market order พวกนี้ให้เอง ไม่เหมือนพวก manual market order ที่เทรดเดอร์เปิดเทรดเอง)

                การเปิดเทรด – เมื่อเข้าในเรื่อง ZigZag ช่วยให้ท่านกำหนดเทรนได้ง่ายไม่ว่าจะเทรดระยะสั้นหรือยาวหรือเทรดสวน ด้วย 2 อย่างที่ยกมาด้านบน การเปิดเทรดอาจใช้วิธีการอ่านชาร์ตเปล่าแบบที่ยกมา สองข้อที่เข้าใจหลักการตลาดทำงาน หลักการออเดอร์ทำงาน และเทรดเดอร์อื่นๆ ที่เทรดและอยู่ในตลาด  เช่นกรณีเมื่อท่านเห็นราคาเบรคจุด ZigZag ท่านอาจจะประยุกต์ Fibonacci Retracements เพื่อหาจุดเข้าเทรด หรือหลักการเรื่อง confluence อื่นๆ ที่เป็นผลจากการ technical analysis ที่เกิดขึ้นพื้นที่เดียวกัน จะเห็นว่าราคามา rejection ที่เลข Fibonacci retracement 50.0 ก็เปิดโอกาสให้เปิดเทรดตามผลการหาของ Fibo ได้ หรือท่านอาจเพิ่ม confluence อย่างอื่นเข้าไปเช่นเรื่อง supply/demand

                เรื่องที่พื้นที่ตรงโซนโดน engulf ไปเลยเป็นการยืนยัน demand ไปในตัวด้วย จากที่กล่าวไว้ด้านบนจุดพวก ZigZag เป็นจุดที่บอกว่าราคาเจอ limit orders และออเดอร์พวกนี่ได้ลดลงไปเมื่อราคาไปถึงและได้เปลี่ยน limit orders พวกนั้นกลายเป็น long/short positions ด้วย พอราคาเบรคได้ทำให้เกิด Imbalance และเป็นการยืนยัน demand ทำให้รู้ว่าไม่มีเทรดเดอร์อยากเทรดต่อที่ supply นั้น  จุดที่ราคาต้นตอและจุดที่ราคาเบรคเป็นจุดอ้างอิงในการเข้าเทรดต่อตรงที่ราคาย่อตัวลงมาและใช้ Fibonacci Retracement ประกอบ พื้นที่เดียวกันพอดี ส่วนการตั้ง stop loss ก็เป็นที่ต้นตอที่ทำให้เกิดราคาเอาชนะจุด ZigZag  และไปแถวๆ ก่อน ZigZag ตัวสูงขึ้นไป

                จากที่อธิบายมาจะเห็นว่าเมื่อท่านเข้าใจหลักการทำงานตลาด ออเดอร์ทำงานและเรื่องเทรดเดอร์อื่นๆ ที่เทรด เมื่อท่านใส่ ZigZag จะทำให้ท่านหาจุดอ้างอิงได้ง่ายและเร็ว พยายามเทรดกับจุด ZigZag ที่เป็นผลจาก momentum ที่เป็นส่วนสำคัญของ impulsive move ก็จะเพิ่มความเป็นไปได้สูง เพราะเห็นร่องรอยก่อนซึ่งเปิดเผยว่าขาใหญ่เข้าเทรดจริง

               

ทีมงาน : www. .com