Download Currency-Strength-Meter-V.1.1 (คลิ๊ก)
Currency Strength Meter เป็น Indicator ที่ใช้ในการเทรด Forex ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในโปรแกรมเทรด Metatrader 4 หรือ MT4 โดย Indicator Currency Strength Meter เป็นเครื่องมือที่ใช้บอกความแข็งแกร่งของค่าเงิน โดยไม่ได้ทำการเปรียบเทียบเป็นคู่แต่จะบอกความแข็งแกร่งรายตัว โดยทำการเปรียบเทียบกับเงินหลายคู่ ซึ่งถ้าหากค่าเงินใดแข็งค่าก็จะมีระดับความแข็งแกร่งแสดงให้เห็น โดยมีตัวอย่างภาพของ Currency Strength Meter แสดงดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1 Currency Strength Meter คืออะไร – Currency Strength Meter indicator
จากภาพข้างบนจะเห็นว่า indicator Currency Meter แสดงภาความแข็งแกร่งของค่าเงินเป็นระดับ โดยในภาพดังกล่าว ค่าเงินที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุดคือ ค่าเงิน Swiss Franc (CHF) และค่าเงินที่แข็งแกร่งรองลงมาได้แก่ ค่าเงิน Canada หรือ CAD โดยค่าเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดได้แก่ ค่าเงิน New Zealand Dollar หรือ NZD การใช้ง่าย Currency Meter นั้นทำได้ง่ายมาก อย่างไรก็ตาม Currency Meter อาจจะมีหลายรูปลักษณ์ และ หลายแบบ มากกว่าอย่างอื่น แต่หลักการใช้งานนั้นแทบจะไม่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น
ภาพที่ 2 Currency Strength Meter คืออะไร – Currency Strength Heath Map
ภาพข้างบน เป็นภาพ Currency Strength Meter อีกแบบหนึ่ง ซึ่งเป็น Currency Strength Heath Map ของ Oanda โบรคเกอร์แห่งหนึ่งที่ให้บริการการเทรด Forex เช่นเดียวกัน โดยท่านสามารถไปใช้บริการได้ที่ https //www1.oanda.com/forex-trading/analysis/currency-heatmap
ซึ่งถึงแม้ว่าหน้าตาจะแตกต่างกัน แต่การใช้งานก็จะคล้ายคลึงกัน ในภาพที่ 2 จะมี แกนอยู่ 3 แกนที่จะต้องให้ความสำคัญ นั่นคือ แกนสีแดง (แถบบน) แกนสีเทาซึ่งอยู่แกนกลาง และ แกนสีฟ้า ซึ่งอยู่แถบล่าง แต่ละแกนมีความสำคัญ คือ ถ้าเป็นสีแดง แสดงว่า เป็นแกนที่บอกถึงความแข็งแกร่งของค่าเงินมากที่สุด ขณะที่แกนสีน้ำเงินก็มีความหมายตรงกันข้าม คือ เป็นแกนที่บอกว่าค่าเงินอ่อนค่านั่นเอง ส่วนแกนกลางเป็นแกนที่เอาไว้ในเปรียบเทียบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง ที่ 1 แถวแรก แกนกลางคือค่าเงิน Australia Dollar (AUD) ซึ่งถ้าหากมันอยู่ตรงกลางหมายความว่า เราใช้มันเป็นแกนกลางเปรียบเทียบว่าค่าเงินอะไรแข็งอะไรอ่อน ดังนั้นในแถวแรก มี XAU ที่บวกมากที่สุด และ GBP ที่ลบมากที่สุด นั่นหมายความว่า เมื่อเทียบกับค่าเงินออสเตรเลียแล้ว ทองคำมีความแข็งแกร่งมากที่สุด (สัญลักษณ์แทนทองคำคือ XAU) แต่เมื่อเทียบกับค่าเงิน AUD แล้วค่าเงินปอนด์อังกฤษ ก็เป็นค่าเงินที่อ่อนค่ามากที่สุด
เราลองมาดูอีกซักรูปแบบหนึ่งของ Currency Strength Meter ซึ่งให้บริการโดย www.forexnew.org โดยสามารถดาวน์โหลดพร้อมไฟล์ที่แนบมาพร้อมนี้
Download Currency-Strength-Meter-V.1.1 (คลิ๊ก)
ภาพที่ 3 Currency Strength Meter คืออะไร – Currency Strength Meter
จากภาพจะเห็นว่า ไม่ได้มีภาพซับซ้อน มีแค่บอกว่า ค่าเงินแต่ละค่าเงินมีอะไรบ้าง และมีระดับความแข็งแกร่งเป็นตัวเลข โดยค่าเงินที่แข็งแกร่งที่สุด คือ ค่าเงิน Canada Dollar และมีลูกศรชี้ขึ้น หมายความว่า อันดับความแข็งแกร่งได้มีการปรับขึ้นมาจากก่อนหน้านี้ นั่นหมายความว่า ค่าเงินที่ปรับลงได้แก่ ค่าเงิน Swiss Franc
ซึ่งจะเห็นได้ว่า แม้ว่ารูปลักษณ์จะมีความแตกต่างกันแต่ก็ให้ความหมายของการใช้งานไม่แตกต่างกัน คือ บอกความแข็งแกร่งของค่าเงิน โดยแยกเป็นรายตัว ทีนี้เราจะมากันถึงวิธีการใช้งาน Currency Strength Meter กัน
การใช้งาน Currency Strength Meter
การใช้งาน Currency Strength Meter นั่นค่อนข้างไม่ได้ตรงไปตรงมา สิ่งที่เราต้องคิดก่อนก็คือ เราจะใช้งานมันอย่างไร โดยถ้าหากเราใช้ Currency Strength Meter เราจะต้องคิดเสียก่อนว่า เราจะเทรดค่าเงินอะไร แต่ในทางกลับกันกับ Currency Strength Meter นี้เราต้องดูก่อนว่า ค่าเงินอะไรที่มีความแข็งและอ่อนค่ามากที่สุด น้อยที่สุด ซึ่งการใช้งาน Currency Strength Meter มี 2 แนวทางหลัก ๆ ดังนี้
- แนวทางการใช้แบบวัดเทรนด์
การวัดเทรนด์โดยใช้ Currency Strength Meter สิ่งที่เราต้องดูคือค่าเงินที่แข็งที่สุดกับค่าเงินที่อ่อนที่สุด เมื่อเราเทียบค่าเงินที่แข็งที่สุดกับค่าเงินที่อ่อนที่สุด หมายความว่า เรากำลังจับเทรนด์ของมัน เพราะถ้าเราเอาค่าเงิน 2 ค่าเงินมาจับคู่ เช่น AUD เป็นค่าเงินที่แข็งที่สุด ขณะที่ค่าเงิน CAD เป็นค่าเงินที่อ่อนที่สุด เราจะได้เทรนด์ ขาขึ้นของคู่เงิน AUDCAD เพราะว่ามันจะบอกว่า คู่เงิน AUD CAD กำลังขึ้น เนื่องจากตัวหาร (CAD) หารตัวตั้ง (AUD) ซึ่งมีค่ามาก ในหลักการเช่นนี้เราต้องส่ง LONG AUDCAD ขณะที่ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากจะส่ง Short เราก็ต้องเอาค่าเงินที่อ่อนที่สุดตั้ง และ เอาค่าเงินที่แข็งที่สุดหาร ซึ่งแน่นอนว่ามันคงไม่มีคู่เงิน CADAUD ให้เราเล่นหรอก นั่นหมายความว่า การจะเล่น Short หรือ Long นั้นจะกำหนดมาจากเครื่องมืออยู่แล้ว
เดี๋ยวเราจะมาดูตัวอย่างจริงกันสักหน่อย โดยผมจะเปรียบเทียบสถานการณ์ของ Currency Strength Meter ใน MT4 โดยใช้หลักการนี้ให้ดูกันครับ
ภาพที่ 4 Currency Strength Meter คืออะไร – ภาพ Currency Strength Meter
ในภาพเป็นตัวอย่าง ของค่าเงินที่อ่อนค่า คือ AUD และค่าเงินที่แข็งค่าที่สุดคือ CAD หมายความว่า เราต้อง Short AUDCAD เพราะว่า เราไม่มีคู่เงิน CADAUD เราลองไปดูค่าเงิน AUDCAD ดูว่าอยู่ในขาลงเมื่อดูจาก Indicator ตัวอื่นหรือไม่
ภาพที่ 5 Currency Strength Meter คืออะไร – ภาพเปรียบเทียบเทรนด์กับ Currency Strength Meter
ในภาพจะเห็นว่า MACD เป็นขาลงและเส้นเทรนด์ไลน์ที่ชี้วัด AUDCAD ก็เป็นขาลง นั่นหมายความว่า การเทรดแบบนี้เป็นการเทรดตามเทรนด์ที่เมื่อเกิดเทรนด์ขาลงแล้วเราจึงเข้าเทรด
- แนวทางการใช้แบบกลาง
นอกจากการเทรดตามเทรนด์แล้ว เราสามารถใช้ Currency Strength Meter เพื่อใช้ในการเทรดแบบหาจุดกลับตัวด้วย ในตัวอย่างเดียวกัน แต่หลักการกลับด้านกัน นั่นคือ ตัวอย่างของข้อ 1 เมื่อเราพิจารณาว่า AUD อ่อนค่ามาก และ CAD ก็แข็งค่ามากเช่นกัน ดังนั้น เมื่อมันอ่อนค่ามานานแล้ว ทำให้อันดับมันร่วงจากอันดับอื่น ร่วงลงมาอันดับสุดท้ายแสดงว่ามันลงมาสุด ๆ แล้วจริง ๆ เราจึงใช้หลักการนี้บอกว่า มันกำลังจะกลับตัว เพราะมันเคลื่อนไหวสูงสุดแล้ว โดยจะอธิบายในตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่าง
AUD เลื่อนจากอันดับ 6 มายังอันดับ 7 แสดงว่ามันอ่อนค่ามานานมากแล้ว และกำลังรอวันกลับตัว ซึ่งถ้าเราคิดอย่างนี้ เราต้องส่งคำสั่งตรงกันข้ามกับข้อ 1 หมายความว่าแทนที่จะส่ง Short AUDCAD เราต้องส่ง Long AUDCAD
ภาพที่ 6 Currency Strength Meter คืออะไร – ลำดับของ AUD
ซึ่งหมายความว่า ถ้าเราส่ง AUDCAD มันอาจจะกลับตัวเมื่อไหร่ก็ได้
ถึงอย่างนั้นก็ตาม ผมก็ต้องย้ำเหมือนกับที่เคยย้ำว่า ไม่มีอะไรที่จะแน่นอนตายตัวได้ Indicator Currency Strength Meter ก็เช่นกัน ไม่สามารถทำให้เราได้กำไรตลอดไป ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำคือ มีวิธีการจัดการความเสี่ยงของความผันผวนไว้แน่นอนไว้ก่อน ผมจะยกตัวอย่างแค่วิธีการที่ 2 ดัง คือ กรณีที่เราเทรดโดยใช้ Currency Strength Meter หาจุดกลับตัว เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะกลับเมือไหร่ วิธีการคือ เราจะซอย position ของเราออกเป็น 3 ส่วน เช่น ถ้าหากว่าเข้าเทรดแล้วมันลง เราจะปิดออเดอร์ทันที เพราะว่า เมื่อเทรดแล้วมันผิดทางแสดงว่า เราไม่สามารถหาจังหวะเทรดที่ดีได้ แต่ว่า ถ้าหากว่าเข้าเทรดแล้วกำไร เราจะเข้าออเดอร์ที่ 2 และ เข้าออเดอร์ที่ 3 หากว่า ออเดออร์ที่ 2 กำไร
กลยุทธ์เช่นนี้ก็คือวิธีการเดียวกับ Let profit run เพราะว่า เวลาเรากำไร เรากำไร 3 ออเดอร์ แต่ว่าในทางตรงกันข้ามเมื่อเราขาดทุน เราขาดทุนแค่ออเดอร์เดียว เราต้อง Cutloss และไม่ปล่อยให้ขาดทุนวิ่งไป โดยการไม่ปิดออเดอร์ เพราะไม่เช่นนั้นเรากำลังวัดกับดวงแล้วว่ามันจะกลับมา ซึ่งมันอาจจะกลับมาหรือไม่กลับก็ได้ เราจึงไม่ควรที่จะไปวัดกับอะไรที่ไม่สามารถจัดการได้
นอกจากนี้การใช้ Currency Strength Meter ไม่ได้จำกัดที่วิธีการที่ผมเสนอเพียงอย่างเดียว หลายคนอาจจะใช้ Currency Strength Meter ต่างจากวิธีการที่ผมเสนอ ก็ไม่ผิดแต่อย่างไร เพียงแค่ขอให้ได้กำไรเท่านั้นก็ถือว่าตอบโจทย์การลงทุนแล้ว
ทีมงาน www.thaibrokerforex.com