MA เป็นแนวรับ-แนวต้านแบบไดนามิค
วิธีการใช้ MA หรือ moving average น่าจะเป็นวิธีการง่ายที่สุดในการหาแนวรับแนวต้าน และยังเป็นที่นิยมกัน แม้ว่าการเทรดด้วย price action อย่างเดียวมองแต่ชาร์ตและราคา ไม่จำเป็นต้องใช้อินดิเคเตอร์เพราะอินดิเคเตอร์ให้ lagging information เพราะเป็นการอ่านจากข้อมูล price action ที่จบไปแล้ว แต่ก็ยังสามารถใช้ประโยชน์จาก MA ได้เพราะทำให้ท่านเห็นแนวรับแนวต้านแบบที่เปลี่ยนแปลงตลาดตามราคาที่เกิดขึ้นก่อนนี้ได้ เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อท่านใช้กับ price action หรือ confluence อย่างอื่นๆ ที่เกิดขึ้นด้วย
ยกตัวอย่างเส้น Moving Average ใช้ค่ากำหนด 50 และวีธีการ MA เป็น Simple และ ใช้กับราคาปิด (การประยุกต์ปรับจูนต่างกันออกไปแล้วแต่กลยุทธ์ในการเทรด ในที่นี้นำเสนอว่าใช้ MA เป็น dynamic support/resistance และเข้ากับ price action อย่างไร) วิธีการ MA กล่าวแบบง่ายๆ ก็จะเป็นการหาค่าเฉลี่ยอิงตัวแปรตามจำนวน Period เป็นตัวหลักว่ากี่ Period แล้วเสนอราคาตามที่เกิดเป็นเส้นมาต่อๆ กันแต่ละบาร์ เช่นอย่างด้านบนใช้กับชาร์ต D1 ก็จะเป็นการหาค่าเฉลี่ยจากแท่งเทียน 50 แท่ง ดังนั้นเมื่อมองตรงนี้ จึงทำให้ MA เป็นที่นิยมใช้ประกอบเป็นแนวรับหรือแนวต้าน ถ้าราคาอยู่เหนือกว่าเส้น MA ทำเทรนขึ้นหรือราคาต่ำกว่าเส้น MA ถือว่าราคาทำเทรนลง
สิ่งหนึ่งที่ต้องไม่ลืมเมื่อท่านใช้อินดิเคเตอร์คือ อินดิเคเตอร์เป็น lagging information ให้ข้อมูลช้าหรือตามหลังราคาปัจจุบัน สิ่งเดียวที่ไม่ให้ข้อมูลช้าคือ price action เท่านั้น MA ให้ lagging information เพราะอ่านจาก price action ที่เกิดขึ้นแล้วหรือจบไปแล้ว ดังนั้นวิธีการใช้ MA ท่านต้องใช้กับ price action ที่กำลังเกิดขึ้นกับปัจจุบันหรือแบบ confluence กับ trading analysis อื่นๆ เช่น price action อย่างเดียวหรือวิธีการอื่นก็ได้
วิธีการใช้ MA หลักๆ คือ ข้อแรกใช้เพื่อหาว่าเป็นไปได้หรือเปล่าที่เทรนจะเปลี่ยนหรือกำหนดความแข็งของเทรนปัจจุบัน และข้อสองใช้เพื่อเป็นแนวรับแนวต้านแบบไดนามิคตามราคาที่เปลี่ยนไปให้ดูได้ง่ายและเร็ว
อย่างตัวอย่างใช้ MA 20 เส้นสีแดงและ MA 30 เส้นสีชมพู อย่างที่เลข 1 จะเห็นว่าเมื่อเส้น MA ตัดกัน บอกเรื่องเทรนเปลี่ยน ท่านจะเห็นราคาได้เปลี่ยนไปแล้วเส้น MA ค่อยตัดกัน นั่นทำไมเขาจึงเรียกกันว่าอินดิเคเตอร์เป็นทูลแบบให้ข้อมูลล่าช้าหรือ lagging เลข 2 ท่านจะเห็นว่าระยะห่างของ 2 MA ห่างกันบอกว่าเทรนแรง ถ้าแคบบอกถึงเทรนอ่อน ท่านสังเกตดูที่จุดเลขหนึ่งก่อนที่ราคาจะเปลี่ยน แล้วทำให้เกิดการตัดกันระหว่างเส้น MA จะเห็นว่าระยะห่าง 2 เส้นแคบลงจนตัดกันแล้วเปลี่ยนเทรนขึ้น ที่เลข 3 ก็ตรรกะเดียวกันกับที่เลข 1 แค่ต่างกันที่ทิศทางการวิ่งของราคา และเลข 4 ก็แบบเดียวกันกับเลข 2 พอราคาขึ้นหรือลงเปลี่ยนไป MA ทั้ง 2 เส้นก็จะเป็นตัวสร้างแนวรับแนวต้าน
MA เป็นแนรับแนวต้านแบบไดนามิคอย่างไร
ปกติที่นิยมกันกันในการกำหนดแนวรับหรือแนวต้าน จะเป็นเส้นแนวนอนหรือแนวทะแยงมุมเป็นหลัก เพราะมองเรื่องพื้นที่ออเดอร์และ positions ที่อยู่ในตลาดเพื่อบอกว่าเป็นแนวรับหรือแนวต้านก็จะไม่ได้มองแค่ราคาเดียว จะเป็นกรอบพื้นที่แนวนอนหรือแนวทะแยงมุม ส่วน Dynamic support/resistance จะพบเมื่อราคาปัจจุบันโต้ตอบกับเส้น MA จากภาพประกอบจะเห็นว่าเส้น MA ได้กลายเป็นแนวรับและแนวต้านอย่างไร แต่สิ่งสำคัญแม้ว่าทั้ง 2 MA ที่ยกตัวอย่างประกอบ เป็นตัวช่วยในการสร้างแนวรับหรือแนวต้านแบบไดนามิคตามราคาที่เปลี่ยนไป แต่ต้องใช้ควบคู่กับตัวอื่นเป็นหลัก (confluence) เพราะอย่างที่ได้บอกแต่แรกว่าอินดิเคเตอร์ให้ข้อมูลล่าช้าหรือ lagging information
มองอีกรอบ เนื่องจาก MA จะช่วยในการกรองเรื่องเทรนตามที่อธิบายด้านบนมา จะเห็นว่าหลังจากที่เส้น MA ตัดกัน หลังจากที่ระยะห่างแคบลงจนมาตัดกันบอกว่าเทรนเปลี่ยน จะเห็นว่าราคาเบรคพื้นที่เป็นแนวต้านเก่าด้วยที่เลข 1 หรือมองเส้น MA ประกอบท่านจะเห็นว่าราคา rejection ตรงนั้นด้วยพอ price action ใหม่เปิดเผยหลังจากที่ราคาเบรคแนวต้านนั้นขึ้นไป จะเห็นว่า MA ทั้ง 2 เส้นตอนนี้ได้กลายมาเป็นแนวรับ และเมื่อท่านดู Price action ที่เปิดเผยบอกการเอาชนะพื้นที่ตรงไหน ท่านก็เห็นว่าจะเทรดตรงไหนเพราะมี positions อยู่ตรงนั้นประกอบด้วย เมื่อราคาเบรคไปทำให้เทรดเดอร์ที่ถือ positions ตรงนั้นเดือดร้อนหรือกลายเป็น trapped traders สิ่งที่ตามมาคือเรื่องจำเป็นต้องออกจากตลาดหรือ liquidation จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดตรงไหนและเมื่อเกิดการเบรคก็จะมีอีกกลุ่มคือ breakout traders ด้วย
หรือที่เลข 2 ก็หลักการเดียวกัน หลังจากที่ เส้น MA ตัดกันอีกรอบ ท่านมองดูที่มาจะเห็นว่าบาร์ยาวๆ เอาชนะพื้นที่ resistance ก่อนพอดี จะเห็นว่าตอนราคาลงไปมีการ rejection ตรงนั้นด้วย บาร์ยาวๆ ทำให้รู้ว่าขาใหญ่เข้าเทรดเพราะเป็น impulsive move เอาชนะและปิดทางที่เอาชนะได้ ราคามา rejection ตรงเส้น MA พอดี จะเห็นรูป Pin Bar เป็นรูป price action ที่เปิดเผยตรงนี้พอดี กลายเป็นแนวรับแบบไดนามิคเกิดขึ้นตรงไหน หรือที่เลข 3 เมื่อราคาเบรคเส้น trendline ขาขึ้น ราคาสามารถทำ lower low ได้ (ท่านอาจใช้ confluence เสริมจาก price action คือเรื่อง swing highs/lows ในการกำหนดเทรนด้วย) พอราคากลับขึ้นไปเมื่อมองเรื่อง price pattern ท่านจะเห็นว่าเป็นจุด Head and Shoulders พอดีด้วย แต่พอท่านมาดู MA จะเห็นว่ากลายเป็น dynamic resistance ตรงที่ราคาเบรคกรอบเลข 3 พอดี ดูกรอบที่บอก dynamic resistance จะเห็น price action ที่บอกว่าราคา rejection ตรงนั้นพอดีหลังจากที่เส้น MA ตัดกัน
จะเห็นว่าเมื่อท่านใช้ เส้น MA ประกอบชาร์ต จะทำให้เห็นเรื่องเทรนเร็วขึ้นว่าจะเปลี่ยนหรือยังแข็งอยู่ และยังเห็นแนวรับแนวต้านที่เกิดขึ้นตามได้เร็ว แต่เนื่องจาก MA เป็นอินดิเคเตอร์ที่ให้ข้อมูลล่าช้าเพราะอ่านจาก price action ที่จบไปแล้ว เมื่อจะเปิดเทรดให้ใช้เรื่อง confluence กับ price action ที่เกิดขึ้นปัจจุบันหรือกับ technical analysis แบบอื่นๆ ประกอบกันยิ่งจะเพิ่มความเป็นไปได้
ทีมงาน : www. .com