การใช้ indicator ต่าง ๆ  Bollinger Band

การใช้ indicator ต่าง ๆ  Bollinger Band

บทความนี้เป็นบทความแรกหลังจาก บทความกลยุทธ์จากทฤษฎีการล่า บทความเกี่ยวกับการใช้ Indicator พื้นฐานที่ปรากฏอยู่ใน MT4 ตอนติดตั้งเครื่อง แบ่งออกเป็น 5 หมวด คือ Trend Oscillator Volume Bill Williams และ Custom Indicator ซึ่ง Bollinger Band เป็น Indicator ตัวแรกในหมวดนี้ การเรียงกันของการเขียนจะเรียงกันตามที่ปรากฏในกลุ่ม  ซึ่งสาเหตุที่เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้เป็นการแชร์มุมมองของการใช้ Indicator ของผมเท่านั้น บาง Indicator อาจจะไม่ได้เป็นมาตรฐานการใช้งาน และไม่ได้อ้างอิงจากทฤษฎีเท่าใดนัก ขณะที่บางอย่าง การใช้งาน Indicator ก็ใช้เพื่อปรับให้เข้ากับเครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะการเทรดของเรา เพื่อให้เข้าใจเนื้อหาในบทความมากขึ้น ผู้เขียนจึงขอแนะนำให้กลับไปอ่าน บทความก่อนหน้าเกี่ยวกับ การสร้างระบบเทรดให้ได้กำไร ทฤษฎีพฤติกรรมราคา และ กลยุทธ์การล่าที่ใช้ในตลาด Forex เพิ่มเติม ซึ่งเป็นเนื้อหาบางเนื้อหาที่ต้องใช้ประกอบกันในการใช้ indicator   องค์ประกอบของบทความเกี่ยวกับการใช้ Indicator ประกอบด้วย ลักษณะของ Indicator และจุดเด่นและจุดด้อยของมัน และ การใช้งานครับ

ลักษณะของ Indicator

รูปที่ 1 เส้นสีเหลือง เส้น Bollinger Band

Indicator Bollinger Band ทำขึ้นมาจากค่าทางสถิติ ใช้ค่า Moving เป็นตัวคำนวณ นั่นคือ การคำนวณ 20 แท่งสุดท้ายเสมอ เพราะว่า ค่ามาตรฐาน (Default) ของ Bollinger Band นั้นคือ 20 นั่นเอง  Bollinger Band ถูกสร้าง คนที่ชื่อ John Bollinger มีองค์ประกอบของเส้นอยู่ 3 เส้น นั่นคือ เส้น Moving Average เส้น Standard Deviation ข้างล่างและข้างบน เส้น Standard Deviation ทำการคูณ 2 เข้าไป ซึ่งการคูณ 2 หรือ 3 เท่านี้ทำให้เราสามารถปรับจูนให้มันเข้ากับการใช้งานของเราได้ ซึ่งการสร้างเส้น Bollinger Band เราสามารถหัดสร้างเองได้ ใช้ Excel

ดังนั้น สูตรของการใช้งานเส้น Bollinger Band มีดังนี้

MA = ผมรวมของราคาปิด 20 แท่ง/ 20

Upper Band = MA +(ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน*2)

Lower Band = MA – (ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน*2)

จากรูปที่ 1 จะเห็นราคาแกว่งตัวขึ้นลงอยู่ใน Band และมี 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่มีเทรนด์ (วงกลมสีแดง) ซึ่งจะทำให้ Band ผิดรูปผิดร่างไปและลักษณะที่เป็น Side Way คือ วงกลมสีฟ้า ซึ่งจะเห็นว่า ราคาแกว่งขึ้นลงในกรอบ Band หลาย ๆ ท่านมักจะอาศัยลักษณะนี้ในการเข้าเทรด กล่าวคือ การใช้การแกว่งตัวในช่วงกรอบสีฟ้า ถ้าแตะด้านล่างของ Lower Band ทำการ Buy และ Sell เมือ่แตะกรอบบน อย่างไรก็ตาม Indicator นี้ก็เหมือนกับ Indicator ทั่ว ๆ ไป เพราะว่ามันก็ไม่สามารถบอกได้อยู่ดีว่า เมื่อไหร่จะเกิดเทรนด์หรือ Side Way บ่อยครั้งที่ต้องเผชิญกับภาวะคาดการณ์ผิดและชน Stop loss ไป

จุดเด่นและจุดด้อย

จุดเด่นของ Bollinger Band

จุดเด่นของ Bollinger Band คือ การใช้บอกการแกว่งตัวขึ้นลงใน สภาวะ Side Way ได้ดี เนื่องจากการสร้างเป็นกรอบ ทำให้รู้ว่าช่วง Side Way แพงหรือถูกเหมาะสำหรับการเข้าเทรด หรือยัง  ซึ่งมันเป็นเหมือนกับการสร้าง Chanel ในการเข้าเทรด เพื่อตัดสินใจในการเทรด

และเพื่อให้การเทรดสามารถลดความผันผวนของ Band ออกไปอีกเพื่อปรับลดความเสี่ยงคุณสามารถปรับตัวคูณของ Band เปลี่ยนเป็นคูณ 3 สิ่งที่คุณจะได้คือ คุณได้กรอบที่กว้างขึ้น เมื่อกรอบกว้างขึ้น ความเสี่ยงที่จะเข้าเทรดในจังหวะที่มันผันผวนไม่มากพอก็จะลดลง ทำให้คุณเข้าเทรดได้ค่า Risk Reward ที่ดีมากขึ้น

จุดด้อยของ Bollinger Band

จุดด้อยของ Bollinger Band คือ ในช่วงที่มีเทรนด์ จากตัวอย่างในรูปที่ 1 จะเห็นว่ารูปแบบของ Band นั้นแตกต่างออกไป ทำให้เราทราบว่า นั่นคือเกิดทิศทางเทรนด์อย่างแน่นอน แต่ปัญหาคือ มันไม่ได้บอกเราเลยว่า มันจะไปถึงไหน แถมการเข้าเทรดจุดนั้น จุดที่เรียกว่าเกิดเทรนด์ เกิดปัญหาที่เรียกว่า เข้าเทรดช้าไป ทำให้การเข้าเทรดในช่วงตลาดมีเทรนด์นั้นไม่มีความได้เปรียบเอาเสียเลย นอกจากนี้เทรนด์บางเทรนด์ยังเกิดการกลับตัวอย่างกระทันหันทำให้การเทรดสำหรับกราฟที่มีเทรนด์ของ Bollinger Band นั้นไม่ได้ผลเอาเสียเลย

การใช้งาน

อย่างที่ได้กล่าวใน ข้อด้อยข้อเด่นของมัน การใช้งาน Bollinger Band ควรจะใช้งานในช่วงที่ตลาดเป็นตลาด Side Way เพราะว่าเทรดง่ายกว่าและมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นมากกว่า และที่สำคัญการใช้ในช่วง Side Way ให้ Risk Reward Ratio ที่ดี และที่สำคัญเพื่อสร้างความรัดกุมในการเทรดมากขึ้น ควรมีการปรับตั้งค่าให้ ตัวคูณเท่ากับ 3

รูปที่ 2 จุดปรับตั้งค่าตัวคูณ 3 (Deviations)

เพื่อลดความผันผวนของกราฟ ทำให้กราฟกว้างขึ้น โอกาสที่จะเกิดการชน Band จึงสูงขึ้น ที่จะเป็นไปได้ว่าจะเกิดการกลับตัวของราคา เพื่อความแน่นอน ควรใช้ระบบที่มี Stop loss เพื่อปิดจุดอ่อนของ Band ในช่วงเวลาตลาดมีเทรนด์

 

ทีมงาน  www. .com